พื้นฐานของสถาบันทางการแพทย์ที่มีความน่าเชื่อถือ
การตรวจร่างกาย
ที่ครอบคลุม
แบบสเปเชียล
การเตรียมการของบาโนบากิ ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของคนไข้เป็นอันดับแรก
- #พื้นฐานของความปลอดภัย
- #ใส่ใจรายละเอียดทุกด้าน
การตรวจสภาพร่างกายอย่างละเอียดก่อนการผ่าตัดเป็นพื้นฐานของความปลอดภัย
บาโนบากิมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่หลากหลายที่สามารถตรวจเช็คร่างกายได้
จึงพร้อมให้คนไข้สามารถรับการตรวจเช็คร่างกายแบบครอบคลุมได้
ทำไมคลินิกเสริมความจะต้องมีการตรวจร่างกายที่ครอบคลุมด้วย อาจจะสงสัยว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นมากนัก แต่หาก มีการตรวจร่างกายแบบครอบคลุมก่อนการผ่าตัดแล้ว จะสามารถเช็คสภาพร่างกายของคนไข้แต่ละคนได้อย่างแม่นยำ สามารถตรวจพบโรคประจำตัวที่ไม่เคยรู้มาก่อน, เพื่อเช็คว่าสามารถเข้ารับการผ่าตัดด้วยการวางยาสลบได้อย่างปลอดภัย และเป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขณะผ่าตัดได้ ทั้งนี้การตรวจร่างกายที่ครอบคลุมแบบพิเศษของ
บาโนบากิ เป็นหนึ่งในปรัชญาการรักษาของโรงพยาบาลที่คำนึงถึงคนไข้เป็นอันดับแรก และยังเป็นพื้นฐานของสถาบันการแพทย์ที่เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักอีกด้วย

จุดเด่น ของการตรวจร่างกายที่ครอบคลุมแบบพิเศษ
ของบาโนบากิ
-
+ สามารถวิเคราะห์หาโรคประจำคัวที่อาจส่งให้เกิดปัญหา และดูว่าสภาพร่างกายมีความพร้อมต่อการผ่าตัดหรือไม่
-
+ สามารถป้องกันผลข้างเคียงของการผ่าตัดหรือผลข้างเคียงของการวางยาสลบ รวมถึงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดในขณะผ่าตัด
-
+ สามารถเลือกวิธีการผ่าตัดที่หมาะสมกับคนไข้แต่ละบุคคลได้
-
+ สามารถนำมาใช้ร่วมกับการตรวจร่างกายทั่วไปได้
สามารถตรวจโรคได้เกือบทุกประเภท
ประเภทการตรวจโรค
การตรวจร่างกายที่ครอบคลุมแบบพิเศษ ของบาโนบากิ
- การตรวจเบื้องต้น
- ตรวจเลือด
- การตรวจมะเร็ง
- การตรวจหาโลหะหนัก
- การตรวจอัลตราซาวด์
- ตรวจสอบความเครียด
- เอกซเรย์
- การถ่ายภาพ 3D-CT
-
ตรวจสอบข้อต่อกราม
(TMJ) - ตรวจเช็คคลื่นหัวใจ
- ตรวจความหนาแน่นของกระดูก
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจสอบการทำงานของไต
- ตรวจสอบการทำงานของไตแบบครอบคลุม
- ตรวจโรคเบาหวาน
- ตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ตรวจสอบประสิทธิภาพของหัวใจ
- ตรวจสอบโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อรวมถึงกระดูก
- ตรวจประสิทธิภาพของไทรอยด์
- ตรวจหาโรคติดเชื้อ
-
การตรวจเบื้องต้น
ตรวจความดัน,ส่วนสูงและน้ำหนัก วัดค่ามวลร่างกายเพื่อตรวจระดับโรคอ้วนในเบื้องต้น
ความดัน : วัดความดันในเส้นเลือดที่จะสามารถส่งออกซิเจน และเลือดขึ้นไปหล่อเลี้ยงได้ทั่วร่างกายและหัวใจ ในกรณีที่ความดันสูงหรือความดันต่ำ ขณะผ่าตัดอาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยขึ้นได้ เพราะฉะนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตรวจความดันก่อนผ่าตัดทุกครั้ง
ส่วนสูงและน้ำหนัก : ตรวจวัดมวลร่างกาย (BMI) เพื่อหามาตรฐานน้ำหนัก เพศชาย น้ำหนักมาตรฐาน = ส่วนสูง(M)2 x 22 เพศหญิง น้ำหนักมาตรฐาน = ส่วนสูง(M)2 x 21
ตรวจระดับโรคอ้วน : น้ำหนักปัจจุบัน ÷ น้ำหนักมาตรฐาน
-
ตรวจเลือด
การทดสอบความเข้ากันได้ของการถ่ายเลือด,ตรวจหาเลือดจาง,ตรวจสอบการแข็งตัวของเลือด
การทดสอบความเข้ากันได้ของการถ่ายเลือด(Cross matching)
ก่อนการถ่ายเลือด จะต้องมีการตรวจเลือดเพื่อหาความเข้ากันได้ของกลุ่มเลือดระหว่างผู้บริจาคเลือดและผู้รับเลือด ตรวจปฏิกิริยาการแข็งตัว เป็นขั้นตอนการคาดการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ที่ต้องเลือกกลุ่มเลือดที่เหมาะสมการทดสอบCBC (Cell Blood Count)
เป็นการตรวจสอบปริมาณและลักษณะความหนาแน่นของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ถูกดูดออกมาตรวจสอบการแข็งตัวของเลือด (PT-PTT)
ตรวจสอบเกล็ดเลือดและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดก่อนการผ่าตัด และคาดการณ์สถานการณ์อันตรายที่อาจเกิดการเสียเลือดในขณะผ่าตัด -
การตรวจมะเร็ง
สัญญาณของโรคมะเร็งที่กลายเป็นเซลล์มะเร็ง สามารถตรวจพบได้ในช่วงแรกโดยผ่านการตรวจเลือด
สัญญาณของโรคมะเร็ง เป็นตัวบ่งชี้ของโรคที่สามารถตรวจสอบการโจมตีของเซลล์มะเร็ง การรักษา รวมไปถึงสามารถเฝ้าระวังการกำเริบของโรคหลังการผ่าตัด การใช้วิธีตรวจหานี้ เป็นวิธีการวินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะแรกที่ถูกใช้ในการปฏิบัติทางการแพทย์ และด้วยผลของการตรวจโรคมะเร็งสามารถตรวจสอบว่าคนไข้จะรับการผ่าตัดเสริมความงามได้หรือไม่อีกด้วย
สาเหตุของโรคมะเร็งมีหลากหลาย แต่มีสาเหตุหลัก4ข้อดังนี้
① สาเหตุจากกายภาพ (การโดนรังสีอัลตราไวโอเลต, โดนแผดเผา หรือโดนรังสี เป็นต้น)
② สาเหตุจากทางเคมี (สารกันบูด, ผงชูรส, สารโลหะหนัก เป็นต้น)
③ สาเหตุจากไวรัส (โรคตับอักเสบ ชนิดB และชนิด C, HPV เป็นต้น)
④ สาเหตุจากภายในร่างกาย (ความพกพร่องทางพันธุกรรม, ปัจจัยจากคนในครอบครัว เป็นต้น) -
การตรวจหาโลหะหนัก
ถ้าโลหะหนักถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายแล้ว จะไม่สามารถถูกขับออกมาได้ จะทำให้เกิดอาการผิดปกติที่ระบบเส้นประสาทและระบบย่อยอาหารได้
※ ในการตรวจหาโลหะหนัก ผลการตรวจจะใช้เวลาประมาณ6วัน
การตรวจสอบโลหะหนักนั้น เป็นรายการทางเลือก ที่ไม่จำเป็นต้องตรวจหาได้ในการตรวจหาโลหะหนัก จะใช้การเก็บปัสสาวะ เส้นผม, หรือเลือด ส่วนเส้นผมจะหาโลหะหนักที่เป็นอัตรายและวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุที่จำเป็น อีกทั้งหามลพิษของโลหะหนักและปริมาณสารอาหาร เพื่อสามารถหาวิธีป้องกันโรคและกำหนดวิธีที่จะใช้ชีวิตประจำวันให้ร่างกาย
อาการที่เกิดจากการได้รับสารโลหะหนัก ดังนี้
· ปรอท(Hg)
อาการเมื่อยล้า, นอนไม่หลับ, อาการปวดตามข้อ, ซึมเศร้า,
วิตกกังวล, หดหู่ และ ไม่มีความอาหาร
· อะลูมิเนียม (Al)
ประสิทธิภาพของหัวใจต่ำลง, ประสิทธิภาพการจำลดลง,
มีปัญหาเรื่องการพูด และภูมิคุ้มกันต่ำลง
· ตะกั่ว(Pb)
มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร, ฝันผุ, ปวดกล้ามเนื้อ,
ความวิตกกังวลทางจิต, ขาดสมาธิ, การคลอดก่อนกำหนด -
การตรวจอัลตราซาวด์
ปกติการตรวจอัลตราซาวด์ จะทำก่อนการผ่าตัดเสริมหน้าอก เพื่อเช็คว่ามีโรคเกี่ยวกับทรวงอกหรือไม่
และเพื่อวิเคราะห์สภาพร่างกายว่าพร้อมกับการผ่าตัดหรือไม่สามารถเช็คสภาพของทรวงอกโดยรอบและลักษณะของวัสดุเสริมที่อยู่ด้านในได้โดยผ่านทางเครื่องอัลตราซาวด์ และสามารถจำแนกให้เห็นเนื้อ, ก้อนเนื้อ, เนื้อร้ายได้ บาโนบากิมีแพทย์เฉพาะทาง(ด้านทรวงอก) ประจำอยู่ เป็นผู้ตรวจทรวงอกให้โดยเฉพาะ ในกรณีที่มีการตรวจพบเนื้องอก สามารถทำการผ่าตัดนำออกได้อย่างปลอดภัย
ถ้ามีความจำเป็น สามารถตรวจMammographyเพิ่มเติม จะทำให้การผ่าตัดหน้าอกมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
-
ตรวจสอบความเครียด
ความเครียดนั้น เป็นอารมณ์ของความกังวลและถูกคุมคามเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ยากต่อการควบคุม หรือจัดการได้ทั้งทางจิตใจ และทางร่างกาย.
ในประเทศของเรา ความเครียดที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้ อยู่ใกล้พวกเราเข้ามาทุกทีสามารถวัดหาสารที่เป็นตัวอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อยู่ในเลือดได้
สามารถตรวจผลได้ภายในเวลาประมาณ 7 นาที
และไม่จำเป็นต้องใช้เลือดเยอะเพื่อทำการตรวจ เพียงแค่ใช้เลือดไม่กี่หยดเท่านั้นตรวจสอบการบำบัดตามผลของการตรวจ และสามารถเข้ารับการรักษาได้
-
เอกซเรย์
วินิจฉัยรูปทรงของกระดูกบนใบหน้าและการสบฟัน ผ่านการถ่ายภาพเอกซเรย์
การถ่ายภาพรูปนิ้วมือ หรือข้อต่อของเข่า เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตในร่างกาย เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเข้ารับการผ่าตัดเรื่องกระดูกได้หรือไม่
การถ่ายเอกซเรย์ ไม่เพียงแต่ถ่ายภาพหน้าตรงเท่านั้น ยังมีการถ่ายในหลายมุม เช่นด้านข้าง และภาพพาโนราม่า จึงสามารถคาดการณ์ความ
มีมิติในบริเวณที่จะมีการผ่าตัดได้ -
การถ่ายภาพ 3D-CT
ใช้เครื่องถ่าย 3D-CT ในการถ่ายภาพโครงหน้า
สามารถแยกความแตกต่างความหนาแน่นทีอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อของกระดูกใบหน้าผ่านทางวีดีโอ3มิติ เป็นการวิเคราะห์หาตำแหน่งของเส้นประสาทและเป็นการตรวจที่สำคัญอย่างยิ่งก่อนการผ่าตัด
ให้คำวินิจฉัยของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก รวมถึงสามารถแนะนำแนวทางการรักษา รวมถึงสามารถคาดการณ์ลักษะที่จะเกิดขึ้นหลังผ่าตัดได้
-
ตรวจสอบข้อต่อกราม (TMJ)
ใช้ตัดสินใจในการหาความเป็นไปได้ในการรักษาและทราบตำแหน่งของข้อต่อ
โดยผ่านการถ่ายภาพเอกซเรย์และตรวจกล้ามเนื้อของบริเวณข้อต่อกรามโดยรอบข้อต่อกราม เป็นข้อต่อกรามสองข้าง ที่มีลักษณะเฉพาะที่อยู่ในร่างกาย ถือว่าในชีวิตประจำวันของมนุษย์ต้องใช้งานบ่อยที่สุด ในบรรดาข้อต่ออื่นๆ
ลักษณะที่ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติโดยการเคี้ยวอาหารแข็งและเหนียวได้ ,เกิดอาการปวดที่ข้อต่อเนื่องจากอาการเครียด อีกทั้งถ้าเกิดลักษณะที่ข้อต่อกรามผิดปกติจะทำให้ใบหน้าเบี้ยว หรือในกรณีที่รุนแรงสามารถทำให้สัดส่วนของร่างกายเสียหายได้
ตรวจสอบความไม่สมมาตรและปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่เท่ากันผ่านทางการเข้าตรวจข้อต่อกราม ถ้ามีการแก้ไข,ผ่าตัดรักษาจะทำให้ใบหน้ามีความสวยงามมากขึ้น
-
ตรวจเช็คคลื่นหัวใจ
เป็นการเก็บบันทึกกราฟที่แสดงการทำงานของหัวใจที่มีการเต้นเป็นจังหวะเพื่อออกคำวินิจฉัยของสภาพหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ,
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และ ชีพจรผิดปกติหรือไม่ เป็นต้นหัวใจ ต้องได้รับการกระตุ้นจากเส้นประสาทเคลื่อนไหวเท่านั้น ต่างจากกล้ามเนื้อที่มีการหดคลายตัว ปรากฏการณ์ที่หัวใจถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้าโดยอัตโนมัติและเป็นระยะ ซึ่งไม่ต้องใช้แรงของระบบประสาทในกล้ามเนื้อโดยรอบของหัวใจ จากเหตุนี้อาจจะยังทำให้เกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจเช่น หัวใจเต้นช้า ,การชัก,หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ
ในกรณีที่ใช้ยาสลบ ต้องมีการรักษาระดับการเต้นของหัวใจและชีพจรจึงจะสามารถผ่าตัดได้อย่างปลอดภัย ต้องมีการตรวจคลื่นหัวใจทุกครั้งก่อนการผ่าตัด
-
ตรวจความหนาแน่นของกระดูก
การตรวจเพื่อวัดหาปริมาณมวลกระดูกของบริเวณที่เป็นลักษณะเฉพาะในร่างกาย
เทียบระดับความหนาแน่นของกระดูกให้อยู่ในระดับที่เป็นปกติ และตรวจว่าปริมาณมวลกระดูกลดลงหรือไม่
หลังจากที่ผ่าตัดโครงหน้าหรือผ่าตัดขากรรไกร เพื่อการพักฟื้นที่ปลอดภัย จะต้องเช็คและรักษาค่ามวลกระดูกให้อยู่ในระดับปกติอยู่เสมอ
-
ตรวจปัสสาวะ
การตรวจปัสสาวะที่ใช้ศาสตร์ทางกายภาพและชีวเคมี
ปัสสาวะ คือของเสียที่ออกมาหลังจากเลือดถูกกรองออกจากไต มีการรวมกันของสารเมแทบอไลต์หลายชนิด ด้วยเหตุนี้ สามารถทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคทางเมแทบอไลด์/ ต่อมไร้ท่อในร่างกาย
ถึงจะเป็นการตรวจที่เป็นพื้นฐานให้แก่คนไข้ทุกท่านก่อนการผ่าตัด แต่เป็นการตรวจที่มีความสำคัญมาก
-
ตรวจสอบการทำงานของไต
เพื่อเป็นการประเมินการทำงานของไต เป็นที่รู้ว่าการตรวจสอบทางชีวเคมีที่หลากหลาย
ไต เป็นอวัยวะที่ลำเลียงของเหลวในร่างกาย และสามารถปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง รับหน้าที่ที่สำคัญที่จะกำจัดของเสียจากเลือด ภาวะแทรกซ้อนของโรคประจำตัวต่างๆทำให้การทำงานของไตลดลง โดยการถูกรุกรานของไตมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของไต จึงต้องคาดการณ์ความเสียหายของการทำงานของอวัยวะและปรับการใช้ยาที่เหมาะสมในการผ่าตัด
รายการการตรวจ
① สาเหตุจากกายภาพ(การโดนรังสีอัลตราไวโอเลต ,โดนแผดเผา หรือโดนรังสี เป็นต้น)
② สาเหตุจากทางเคมี(สารกันบูด, ผงชูรส ,สารโลหะหนัก เป็นต้น)
③ สาเหตุจากไวรัส(โรคตับอักเสบ ชนิดB และชนิด C ,HPV เป็นต้น)
④ สาเหตุจากภายในร่างกาย(ความพกพร่องทางพันธุกรรม, ปัจจัยจากคนในครอบครัว เป็นต้น) -
ตรวจสอบการทำงานของไตแบบครอบคลุม
ถ้าโลหะหนักถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายแล้ว จะไม่สามารถถูกขับออกมาได้ จะทำให้เกิดอาการผิดปกติที่ระบบเส้นประสาทและระบบการย่อยได้
ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญ มีหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน, เผาผลาญน้ำตาล รวมไปถึงคาร์โบไฮเดรต ไขมันและสารเหลวอื่นๆ ในร่างกาย ซึ่งเป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตอีกด้วย
ในกรณีที่ตับมีอาการผิดปกติ จะเกิดอันตรายโดยไม่สามารถย่อยยาได้อย่างสมบูรณ์ จึงควรรักษาอาการตับก่อน และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ส่งผลเสียต่อตับ
รายการที่ตรวจ
T.protein, T .Bilirubin, GOT, GPT, r-GPT, LDG, ALT, T .Cholesterol, HBsAG, Anti-HBs, AFP -
ตรวจโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นการหลั่งอินซูลีนที่น้อยเกินไปหรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการเผาผลาญที่ไม่สมบูรณ์
เป็นลักษณะเด่นของระดับกลูโคส ความหนาแน่นน้ำตาลในเลือดสูงจนทำให้เกิดอาการหลากหลายเนื่องด้วยระดับน้ำตาลสูงจะถูกขับออกมาในรูปแบบของปัสสาวะ
การตรวจหาโรคเบาหวาน จะตรวจหาจากการเจาะเลือด ถ้าไม่มีอาการ หลังจากที่งดน้ำ และอาหารมาแล้ว8ชมขึ้นไป หากค่าของน้ำตาลในเลือดอยู่มากกว่า 126 mg/dL หรือหลังการตรวจความทนทานต่อน้ำตาลในช่องปาก 2ชม หากค่าของน้ำตาลมีมากกว่า 200 mg/dL แสดงว่ามีอาการของโรคเบาหวาน มีอาการหิวน้ำบ่อย กินน้ำเยอะ ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดลงเร็วอาการเหล่านี้เกิดขึ้นร่วมกัน และเมื่อวัดโดยไม่คำนึงถึงการที่ทานอาหารมาแล้ว หากระดับน้ำตาลมากกว่า200 mg/dL ก็ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
ในกรณีเป็นโรคเบาหวาน จะต้องเตรียมตัวปรับระดับน้ำตาลในเลือดก่อนการผ่าตัดและขณะผ่าตัดอาจจะมีการเตรียมให้อินซูลีนเพิ่มได้
-
ตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจ
ระบบหลอดเลือดหัวใจ เป็นท่อที่จะชวยส่งสารอาหารเลี้ยงยังหัวใจและส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกาย
เนื่องจาก คอเลสเตอรอล ,หลอดเลือดแดงแข็งตัว, โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และหลอดเลือดหัวใจตีบ จะทำให้การไหลเวียนของเลือดในระบบหลอดเลือดไหลเวียนไม่ดี ในกรณีที่ผ่าตัด และเกิดอาการผิดปกติที่หลอดเลือดหัวใจ อาจจะมีผลต่อการผ่าตัดที่ร้ายแรง
รายการที่ตรวจ
T.Cholesterol, Triglyceride ,HDL-Cholesterol ,LDL-Cholesterol ,CK-MB, Lipoprotein -
ตรวจสอบประสิทธิภาพของหัวใจ
หัวใจเป็นแกนหลักในการดำรงชีวิต ฉะนั้นในขณะผ่าตัดจึงต้องมีการดูแล ป้องกันการทำงานของส่วนนี้เป็นหลัก
สามารถคาดการณ์โรคทางหัวใจผ่านทางการตรวจคอเลสเตอรอ, hsCRP ทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยมากขึ้น ด้วยการตรวจสอบระดับเอนไซน์ของกล้ามเนื้อ และหาความเสียหายของหัวใจที่เกิดขึ้นล่าสุด
รายการที่ตรวจ
GOT,GPT,LDH,CPK,CK-MB,Troponin-T(TNT),Hs-CRP,T-Crolesterol,Triglyceride,HDL-Cholesterol -
ตรวจสอบโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อรวมถึงกระดูก
ตรวจหาว่ามีอาการข้อต่อกรามหรือข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ และอาการกล้ามเนื้ออักเสบหรือไม่
ในกรณีที่มีอาการข้อต่อกราม หรือข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ ขณะที่มีการวางยาสลบ จะมีความลำบากในการสอดท่อเข้าไปในหลอดลม หรือ ในกรณีที่รับการรักษาอาการไขข้ออักเสบ รูมาตอยด์ ,โรคเกาต์ ยาอาจจะเพิ่มอาการการอักเสบได้หลังการผ่าตัด หรืออาจจะทำให้ถูกชะลอการรักษาได้ ด้วยสาเหตุแบบนี้ จึงควรที่จะปรับให้เหมาะสม
นอกจากอาการไขข้ออักเสบ รูมาตอยด์ ,โรคเกาต์ แล้ว มีการตรวจหาประสิทธิภาพของตับ และภาวะโภชนาการ
รายการตรวจ
Uric acid ,ALP ,Ca ,P ,RA ,CRP ,T.protein ,Albumin ,Creatinine -
ตรวจประสิทธิภาพของไทรอยด์
ไทรอยด์ฮอร์โมน มีหน้าที่ปรับสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย และช่วยให้พลังงานในร่างกายถูกใช้ได้อย่างเป็นปกติ
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณใต้ลำคอที่ยื่นออกมา มีน้ำหนักประมาณ15-20กรัม ลักษณะคล้ายผีเสื้อกางปีก โรคไทรอยด์เป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาถ้าระบบของฮอร์โมนมีการทำงานผิดปกติ
ถ้ามีการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติหรือน้อยเกินไป จะส่งผลเสียให้กับระบบหลอดเลือดหัวใจ ก่อนการผ่าตัดจะต้องมีการตรวจล่วงหน้าและเตรียมการให้พร้อมหากเกิดปัญหาในขณะรักษาและผ่าตัด
รายการที่ตรวจ
T3 ,T4 ,TSH ,FT4 -
ตรวจหาโรคติดเชื้อ
ตรวจหาว่ามีแบคทีเรียชนิดต่างๆ หรือมีโรคติดต่อไวรัสหรือไม่
ตรวจหาโรคซิฟิลิส หรือเอดส์ ,โรคตับอักเสบชนิดA และB มีการตรวจหาก่อนการผ่าตัด เพื่อเป็นการเตรียมปัญหที่เกิดขึ้น ในขณะที่ผ่าตัด
รายการที่ตรวจ
HBsAG ,Anti-HBs ,Anti-HCV ,ALDS ,VDRL ,TPHA ,FTA-ABS IgG ,FTA-ABS IgM ,RA ,CRP ,Anti Hbe